วิธีการตรวจเช็คบำรุงรักษา และ การแก้ปัญหาเบื้องต้น
1. ตรวจสอบระดับน้ำมันไฮดรอลิก ควรทำการทุก 6 เดือน น้ำมันที่ใช้ประมาณ 0.3 ลิตร โดยปกติระดับของน้ำมัน จะอยู่ในระดับต่ำจากขอบบนประมาณ 5 มม. ในขณะที่ระดับของงาอยู่ในระดับต่ำสุด
การเลือกใช้น้ำมันไฮดรอลิกกับอุณหภูมิต่างๆกัน ดังนี้
อุณหภูมิ น้ำมัน
-5°C-+45°C L-HM68 หรือ ISO VG 68
-15°C- -5°C L-HM46 หรือ ISO VG 46
-45°C- -15°C L-HM33 หรือ ISO VG 33
2. การไล่น้ำมันจากไฮดรอลิกปั้มต้องทำอย่างไร
ให้ดันตัวคันโยกปรับระดับ ให้อยู่ในระดับต่ำสุด แล้วหลังจากนั้นให้โยกด้ามจับขึ้นและลง น้ำมันจะถูกดันเข้าไปแทนที่ อากาศที่อยู่ด้านในปั้ม
3. การตรวจสอบและการซ่อมบำรุงประจำ
ตรวจสอบตามจุดที่มีโอกาสการสึกกร่อนและเสียดสีเป็นประจำ
4. การหล่อลื่น
ใช้น้ำมันเครื่องหรือจาระบีหยอดตามจุดที่มีการเคลื่อนไหวและสียดสี
เมื่องายกไม่ขึ้นให้หยุดโยกปั๊มและตรวจสอบเบื้องต้นหาสาเหตุดังนี้
1. ตรวจสอบรอบรถว่า รถแฮนด์ลิฟท์มีส่วนใดไปติดกับสิ่งอื่นๆ ในพื้นที่ เช่น พาเลทหรือสิ่งของใกล้เคียง
2. นำรถออกมาจากตำแหน่งที่ทำงาน และทำการปั๊มขึ้น-ลงตัวเปล่า ดูว่ารถลากพาเลททำงานขึ้น-ลงปกติหรือไม่
3. ตวรจสอบตำแหน่งของคันโยก , โซ่คันโยกที่ด้ามจับ และวาล์วน้ำมัน ตามรายละเอียดดังนี้
3.1 ตรวจสอบคันโยกว่าอยู่ในตำแหน่งต่ำสุดหรือไม่
3.2 โซ่คันโยกของด้ามจับตึงไป อาจทำให้ไปกดวาล์วน้ำมันไฮดรอลิคทำให้โยกด้ามจับแล้วรถลากพาเลทยกไม่ขึ้น
3.3 วาล์วน้ำมันไฮดรอลิคค้างในตำแหน่งโดนกดอยู่ ไม่คืนกลับ ทำให้โยกด้ามจับแล้วรถลากพาเลทยกไม่ขึ้น
4. ตรวจสอบการรั่วซึมและระดับน้ำมันไฮโดรลิค
4.1 กรณีน้ำมันไฮดรอลิคในระบบลดลง จะทำให้ประสิทธิภาพระดับการยกลดลง ควรเติมน้ำมันไฮดรอลิค (น้ำมันไฮดรอลิค เบอร์ 68)
4.2 กรณีรั่วซึมเป็นหยดเห็นได้ชัดเจนจากจุดที่น้ำมันหยด อาจเกิดจาก oil seal รั่ว ควรแก้ไขที่จุดนั้นโดยการเปลี่ยน และตรวจสอบบริเวณชิ้นส่วนที่จุดรั่วซึมว่าสึกหรอเสียหายหรือไม่
5. หล่อลื่นจุดที่มีการหมุนหรือเคลื่อนไหวของตัวรถ โดยการทาจาระบี หรือน้ำมันหล่อลื่น
ข้อแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้งาน
1. ไม่ใช้สินค้าถ้ายังไม่ได้ศึกษาหรืออบรม
2. ไม่ใช้สินค้าจนกว่าจะได้รับการอบรม โดยเฉพาะเรื่องล้อ คันโยก งา และตัวควบคุมระดับ
3. ไม่ใช้สินค้าในที่ต่างระดับ
4. ไม่ควรมีอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่บนหรือล่างรถลากขระยก และไม่ใช้ในการบรรทุกคน
5. เราแนะนำให้ผู้ใช้งานสวมถุงมือหรือรองเท้าเพื่อป้องกันการกระแทก
6. ไม่ยกสิ่งของที่วางไม่มั่นคงและเสี่ยงต่อการล้มคว่ำ
7. ไม่ยกสินค้าเกินน้ำหนักที่รถยกจะรับได้
8. ลากสิ่งของที่ต้องการยกบริเวณจุดกึ่งกลางของงา ไม่ควรวางบริเวณปลายงา
9. แน่ใจว่าความยาวของงาเหมาะสมกับความยาวของพาเลท
10. ลดระดับของงาให้อยู่ต่ำสุดหลังจากใช้งานเสร็จ
11. ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการใช้สินค้านอกเหนือจากที่กำหนด